วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย  เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์  เช่น 
 
•   สนุ้กเกอร์ = สนุ๊กเกอร์
•    โน้ต = โน๊ต
      
๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น
•   ผม = ป๋ม
•   ใช่ไหม = ชิมิ
•   เป็น = เปง
•   ก็ = ก้อ
•   ค่ะ,ครับ = คร่ะ,คับ
•   เสร็จ = เสด
•   จริง = จิง
•    เปล่า = ปล่าว,ป่าว,เป่า

๓. การลดรูปคำ  เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลงมีใช้ในภาษาพูด  เช่น ๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน  เช่น
๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์  เช่น
๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง →  ตะเอง
๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
•    หนู=นู๋
•   มหาวิทยาลัย = มหา’ลัย ,มหาลัย
•   โรงพยาบาล = โรงบาล

•   ใช่ไหม = ใช่มั้ย
•   ไม่ = ม่าย
•   ไปไหน = ปายหนาย
•    นะ = น้า
•   ค่ะ,ครับ =คร่า,คร๊าบ
•   จ้ะ = จร้า
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน
          รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย
           ๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม
•   เธอ = เทอ
•   ใจ = จัย
•   ไง = งัย
•   กรรม = กำ

๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์

  กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
•   รู้ = รุ้
•    เห็น = เหน
•   เป็น = เปน

๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย) เทพ = Inw
นอน = uou
เกรียน = เกรีeu     

หลักการใช้ภาษาไทย

คำที่ใช้ บัน บรรหลักการใช้ภาษาไทย

   
  คำที่ใช้ บัน มีดังนี้
         
     บันดาลลง บันได
    บันทึก ให้จำจงดี
    รื่นเริง บันเทิง มี
    เสียงบันลือสนั่นดัง
    บันโดยบันโหยไห้
    บันเหินไปจากรวงรัง
    บันทึงถึงความหลัง
    บันเดินนั่งนอนบันดล
    บันกวดเอาลวดรัด
    บันจวบจัดตกแต่งตน
    คำบันนี้ฉงน
    ระวังปนกับ ร หัน

               คำที่ใช้
    รร เรียกว่า ร หัน ออกเสียง อัน

    บรร อ่านว่า บัน ( บอ – อัน – บัน )


     
    คำบรร ที่นิยมใช้


         
     บรรจุอีกบรรดา บรรเทามาหาบรรยาย
    บรรลุไม่วุ่นวาย บรรลัยตาย บรรเจิดงาม
    บรรจบ บรรทมนอน บรรจงก่อน บรรหารตาม
    บรรทัด บรรทุกน้ำ บรรพต ข้าม บรรพชา
   

   คำทับศัพท์

        ก๊อก แก๊ส ก๊าซ ก๊อบปี้                 กุ๊ก แท็กซี่ โป๊กเกอร์ เต็นท์
ฟุลสแก๊ป แป๊ป โฮเต็ล                        แฟชั่น โค้ช โน้ต ค็อกเทล
โกโก้ โคม่า บล็อก                            แค็ตตาล็อก ปั๊ม เปอร์เซ็นต์
พิซซ่า ซิกแซ็ก เซ็น ( ชื่อ )                  เซรุ่ม เช็ค เค้ก คุกกี้
จี๊บ น็อก ล็อกเกต นั้น                         คอมมิชชั่น โอ๊ก ทอฟฟี่
บุฟเฟ่ต์ ปลั๊ก มัมมี่                            แบตเตอรี่ โบกี้ ไง
แล็กโทส ช็อกโกแลต                         เชิ้ต แจ็กเกต โบว์ลิ่ง ไป๊ป
เอ็มบริโอ ช็อปปิ้ง ไป                         อิเล็กทรอนิกส์ trick จดจำ                   


          คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์

             ชอ่ำ ชอุ่ม ชนัก ชบา             สกัด สกา สกาว ไสว
พเยีย ผอบ ลออ สไบ                         ทโมน ไผท ทแยง คทา
สารประโยชน์ ทลาย โพยม                ชม้าย ชโลม ทแกล้ว ถลา
ชมดชม้อย เชือกมนิลา                      ทยอย ถูกฆ่าวิสรรชนีย์                       


          คำที่อ่านได้อย่างเดียว

          กรมสมเด็จ ครุฑพ่าห์ กรรมาชีพ             บำราบรีบ ปริตร คิดขวนขวาย
ทระนง ฐานกรณ์ อุทธรณ์ทนาย                        เสวกตาย อัฐิ วุฒิ ลา
สมรรถนะ สมนัย กลไกนี้                                 กลวิธี แปรก แปลกหนักหนา
ฉิมพลี ปรวด โฆษณา                                     เจรจา พาปลาสนาการ
ปราชัย ซอมซ่อ ปรปักษ์                                   บุรุษเพศ หาญหัก กามวิตถารอนุสติ กรมพระยา ประจัญบาน                       
บราลี เเลสราญ คณบดี             


          อักษรนำ

          อักษรนำจำให้ดี                 สองตัวมีพยัญชนะร่วมกัน
ทั้งสระสะกดพลัน                         อ่านออกเสียงอะกึ่งคำ
อย่า อยู่ อย่าง อยากด้วย                สูงกลางช่วยเดี่ยวคือต่ำ
อ่านเสียงเหมือน ห ซ้ำ                  อีก ห นำ ต่ำเดี่ยวนา                               


          คำครุ ลหุ

         ครุไม้ผัดพราว                 คือ เสียงยาว แม่ ก กา
ตัวสะกดทุกมาตรา                    อำ ไอ ใอ เอา และ ฤา
ลหุ คือเสียงสั้น                         รูป อุ นั้นจงฝึกปรือ
ตัวสะกดขว้างทิ้งหวือ                 ณ ธ ก็ บ่ บ ฤ                                         


          การผันวรรณยุกต์

           คำเป็นสูงกลางต่ำ         ใช้มือคว่ำ ห้า และหงาย
ลิโพ คือ คำตาย                       อีก เอฟโฟร์ และโอเค
คว่ำมือโป้งและนาง                  ที่เหลือกางอย่าหันเห
วรรณยุกต์ไม่ปนเป                   สามัญซ้ายไปขวาเอย                                 


          หลักสังเกตจากวรรณยุกต์

         มีรูปสูงและกลาง             เสียงตามอย่างรูปนั้นไง
ต่ำเสียงเกินรูปไป                    จำใส่ใจไม่ใช้ตรี
*** ไร้รูปคำเป็นนั้น                  เสียงสามัญกลางต่ำมี
จัตวาสูงทันที                          สูงกลางตาย กลายเอกนา
*** ต่ำตายสระยาว                   เสียงโท พราวเข้าตำรา
เสียงสั้นนั้นตรีหนา                   ล้วนเรียกว่าพื้นเสียง ( *** ) เอย                       


          คำนำหน้าคำประสม

        การความเครื่องของช่าง          ชาววิ่งวางผู้คนขี้
นักนายใจเจ้าที่                              แม่หมอจัดตัดเสียหน้า
ยกลิ้นมักลูกพ่อ                              หัวปากคอกินน้ำตา
ติด ( ท้าย ) ตัวดีใจหน้า                   เหล่านี้หนาประสมเอย                           


          สมาส ( แบบไม่มีสนธิ )

นักเรียนครับ นักเรียนครับ ครูมีเรื่อง อยากจะถามนักเรียนครับ
สมมุตินะครับสมมุติ สมมุติ บาลี สันสกฤต
สมมุติมาอยู่ใกล้ชิด แล้วต้องแปลจากหลังมาหน้า
ต้องออกเสียงระหว่างคำ การันต์และอะทิ้งไป
วร และ พระ ก็ใช่ หนูเข้าใจ สมาสมั้ยครับ                                                   


          สระสนธิ
อะ อา เปลื้องผ้าทันที
อิ อี ยอมพวกเดียวกัน
อุ อู ไม่ยอมเหหัน หากพวกเดียวกัน เปลื้องผ้าทันที
อิอี มักกลายเป็น ย ต่างพวกมาจ่อ ไม่ท้อไม่หนี
อุอู เป็น ว ทันที ๆ พรหมจารีไม่ยอมให้ใคร
อะ หลังชอบเปลี่ยนเป็นอา
อิ ไม่รอช้า เป็น อี เอ ไง
ส่วน อุ ไม่เคยหวั่นไหว อู โอ เข้าใจ สนธิง่ายจัง                                             


          คำไทย

          เฆี่ยน ฆ่า ระฆัง ณ               ฯพณฯ หญ้า ใหญ่ พิศ ศอ
ศอก ศึก เศิก เศร้า (พอ)                  ไมยราบ ไอยรา
เครือญาติ สรรพนาม                       กริยาตาม จำนวนหนา
เครื่องใช้ สัตว์นานา                        อาชีพ สี นี่แหละไทย
ธรรมชาติ อวัยวะ                            ลักษณนามท่องไว้
คุณศัพท์ปรับเข้าใจ                         ตามมาตราพาจดจำ                           


          พยัญชนะวรรค

          ไก่ไข่ควายฆ่างู                จานฉิ่งชูเฌอหญิง เพน=(เพดาน )
ปฏักฐาน - โฑเฒ่าเณร               เต่าถุงทับธงหนูฟัง=( ฟัน )
ปลาผีพี่ภูมิม้า                             ยักษ์เรือลาว่าเสืออัง
หอจุฬาค่าน้อยจัง                 ศาล ฤาษี นี่ สัน . เอย    (ตัวหนาเป็นเศษวรรค)         


          คำบาลี

          ตัวสะกดตรงตามหลัก         แจ้งประจักษ์ซ้ำและตาม
ปุจฉาคือคำถาม                          เขต เขม ปักข์ โอฐ มิค จันท์
จตุ จริยา                                    ฐาปนา ปิยะ ธัญ
ฐิติ บุญ อรัญ                              อัชฌาสัย และ โสตถี
สุริยะ อัจฉริยะ                            ปฐมะ และ รังสี
ปทีป ปณต มี                             เป็นบาลี หมดนี่เอย                             


          คำสันสกฤต
          ศาล ฤาษี ฤ ร หัน          สะกดพลันไม่ตามเกณฑ์
ไอ เอา เขาไม่เว้น                  บุณย์ บุทคล ธานย์ สตรี
กีรติ กันยา ปรัต -                   ยุบัน สัตย์ จันทร์ สูรย์ ศรี
หัสดิน สวัสดี                          อัคนี ปรีย์ อารัณย์
สถิติ สถาปนา                        จตุรา กรีฑา กัลป์
เหล่านี้คือ คำสัน -                   สกฤต ท่อง ต้องขึ้นใจ                                 


          คำเขมร

        หญิงสาวราวจิ้มลิ้ม            ขนมอิ่ม ถนอม ตำ
กำ บัง ทำ ประ จำ                     กระ บัน สำ บำ ผ บรร
บรรพชิต บรรยงก์ บรรพ             บรรพต จับ บรรษัท บรรณ
บรรเจิด บรรจบ กัน                    บรรจุ - กวด - ดา – ทุก - เทา
เหล่านี้ not เขมร                      จำหลักเกณฑ์ไม่อายเขา
ควบนำอย่าดูเบา                        แผลง ร หัน นั้นแน่เอย                             


          คำเขมร ( เพิ่มเติม )

         กรองเชิง กระบือ แข              เนา เฌอ แล จาร ตระกอง
บาย มาน ( มี ) เลอ กันลอง              ลออ สิง ศก สะดม
โดม เดียง ดำรง ได                        โปรด ชไม เชลย ขยม
อุลิด พิเราะ ธม                              พระฮาม เฉพาะ เชวง คัล                     


          ราชาศัพท์

ขั้น 1 มีพระบรม
ขั้น 2 ตรม บรมหายไป
3 , 4 ราช นี้ไปไหน ๆ
ขั้น 5 สุดท้าย พระ ไม่เห็นมี                                                               


          บทร้อยกรอง

        โคลงสอง ห้า ห้า สี่            ถ้าจะมีสร้อยสองนา
โคลงสาม ห้า ห้า ห้า                  สี่ สร้อยสองต้องจดจำ
โคลงสี่ ห้า และสอง                   สามครั้งต้องอย่าถลำ
สร้อยสองหนึ่งสามจำ                 ท้ายห้า สี่ มีเหมือนกัน
ยานีนับ ห้า หก                         อย่าวิตกคล้ายกับฉันท์
สุรางค์เจ็ดวรรคพลัน                 วรรคละสี่ไม่มีงง
         ฉบัง หก สี่ หก                          วสันตดิลก แปด หก ส่ง
ท่องไว้อย่าใหลหลง                    จำง่ายดี happy เอย 

                                     
          คำซ้ำ คำซ้อน ( ทำนอง กอดกัน )
คำเรามีสองคำ จึงเกิดคำซ้ำขึ้นมานั่นไง
ถ้าหากจะดูความหมายเข้าใจ ก็คงบอกได้ว่ามันมากมี
คำถ้ามาซ้อนกัน ก็คงจะมันถ้ามันมากดี ทั้งซ้อนความหมายและเสียงเข้าที ก็คงจะดีคำมีมากมาย
บอก อยากจะบอกๆ ไว้นะ ( บอกอยากจะบอกให้รู้ก่อน )
บอก อยากจะบอกๆ ไว้นะ ( บอกอยากจะบอกให้รู้ )
เปลี่ยนแปลง ซ้ำ ธรรมชาติ รูปร่าง เน้น เบา มาก เป็น สั่งๆ เอาไว้
ม่เจาะจง และต่อเนื่อง แยกออกดู จะได้รู้ พอได้อุ่นใจ
หากคำซ้อน มีทั้ง เหมือน คล้าย และต่าง เป็นแบบอย่าง นะเธอรู้ไหม
ซ้อนเพื่อเสียง มีสำเนียง เสียงคู่กัน ความหมายมัน รู้และเข้าใจ
จำได้รึเปล่า                                                                               
         

          คำควบกล้ำ อักษรนำ ( ทำนอง อยากร้องดังๆ )
ควบกล้ำๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ กล้ำๆ
ควบกล้ำ ต้อง ร ล ว ประสม กับ ป ต ท และ ก ค ข ผ พ นะ จ๊ะ รู้ไหม
มันเพี้ยนกับอักษรนำ คุณหนูต้องจำให้ดี เพราะไม่มี อ
หาก ว่า อ นำ ย หรือว่า ห ต้องนำ ต่ำเดียว นะเธอ
เรียกว่า อักษรนำ ร่วมสระ และตัวสะกด รู้ไหม
หากสูงกลางช่วยนำ พวกต่ำเดี่ยวจะมีเหมือน ห มานำ
ท่องแล้ว ท่องแล้ว ก็จงจำ ที่ฉันได้บอกเธอ และจะย้ำเพื่อบอกเธอ
ถ้าหากเธอได้จดจำ ฉันสบายใจ





๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย  เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์  เช่น 
 
•   สนุ้กเกอร์ = สนุ๊กเกอร์
•    โน้ต = โน๊ต
      
๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น
•   ผม = ป๋ม
•   ใช่ไหม = ชิมิ
•   เป็น = เปง
•   ก็ = ก้อ
•   ค่ะ,ครับ = คร่ะ,คับ
•   เสร็จ = เสด
•   จริง = จิง
•    เปล่า = ปล่าว,ป่าว,เป่า

๓. การลดรูปคำ  เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลงมีใช้ในภาษาพูด  เช่น ๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน  เช่น
๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์  เช่น
๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง →  ตะเอง
๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
•    หนู=นู๋
•   มหาวิทยาลัย = มหา’ลัย ,มหาลัย
•   โรงพยาบาล = โรงบาล

•   ใช่ไหม = ใช่มั้ย
•   ไม่ = ม่าย
•   ไปไหน = ปายหนาย
•    นะ = น้า
•   ค่ะ,ครับ =คร่า,คร๊าบ
•   จ้ะ = จร้า
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน
          รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย
           ๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม
•   เธอ = เทอ
•   ใจ = จัย
•   ไง = งัย
•   กรรม = กำ

๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์

  กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
•   รู้ = รุ้
•    เห็น = เหน
•   เป็น = เปน

๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย) เทพ = Inw
นอน = uou
เกรียน = เกรีeu